พระรอดลำพูน เบญจภาคีที่มีอายุมากที่สุด

   

พระรอดกรุวัดมหาวัน เป็นพระเครื่องที่ขึ้นชื่อลือชา ผู้คนแสวงหามาครอบครองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเป็นหนึ่งในเบญจภาคีที่มีอายุมากที่สุด และราคาค่างวดในตลาดพระเครื่องสูงระดับล้านขึ้นไป ซึ่งขึ้นอยู่ว่าอยู่ในมือใคร ถ้าอยู่ในมือเซียนก็มีราคาไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ถ้าอยู่ในมือชาวบ้านธรรมดา ๆ ก็อาจไม่มีราคาค่างวด แม้นำไปให้เซียนพระดูเขาก็ว่าเป็นพระนอกพิมพ์ โปรดทำใจ เพราะนี่คือวงการพาณิชย์ แต่การแสวงหาเพื่อเคารพบูชาด้วยความศรัทธาเลื่อมใสจริง ๆ อย่าไปเพ่งมองที่ราคา โปรดศึกษาให้รู้และเข้าใจ แล้วแสวงหาของจริงของแท้ ซึ่งอาจซื้อหาได้ในราคาหลักหมื่นเท่านั้น และอย่าเชื่อถือหนังสือเป็นมาตรฐานนัก เพราะคนทำหนังสือพระเครื่องขายก็ต้องการโปรโมทพระของตนเอง ถ้าไม่เหมือนของตนเองก็ตีเก๊ ต้องรู้ให้เท่าทันกลโกงของมนุษย์ ของจริงของแท้อาจมีราคาหลักพันก็ได้ ซึ่งแล้วแต่บุญวาสาของใครของมัน แต่ถ้าเลื่อมใสจริงจัง ขอให้เป็นรูปพระก็ใช้ได้ทั้งนั้น ถ้าเราเลื่อมใสเคารพบูชาอย่างจริงัง เทพเทวาผู้ศักดิ์สิทธิ์ก็มาสิงสถิตย์ทำให้เป็นพระที่มีอิทธิปาฏิหาริย์ขึ้นมาได้

รูปพระรอดที่นำมาแสดงไว้เป็นของจริง แต่อย่าเอาขนาดเป็นมาตรฐาน เพราะการถ่ายไม่เหมือนกัน และตบแต่งภาพไม่เหมือนกัน ผู้เขียนไม่ได้ละเอียดพิถีพิถันถึงขั้นจะทำให้พระทุกองค์มีขนาดที่เหมือนจริง แต่รูปลักษณ์นั้นเป็นของจริงแท้แน่นอน เพียงปรับให้มีขนาดเท่ากันทุกองค์ แต่บางองค์มีพื้นสีเดิมติดมาด้วย ทำให้องค์พระเล็กกว่าความเป็นจริง

พระที่เห็นเป็นพิมพ์ใหญ่ 3 องค์ติดต่อกัน จากนั้นเป็นพิมพ์บ่วงเงินบ่วงทอง จากนั้นป็นพิมพ์เล็ก และพิมพ์ต้อ ตามลำดับแต่ละองค์เป็นพระจริงจากกรุวัดมหาวัน มีอายุไม่ต่ำกว่าพันปี

พระรอดลำพูน มีพบที่กรุวัดมหาวันเท่านั้น เป็นศิลปะทวารวดี-ศรีวิชัย เป็นพระดินเผาทั้งสิ้น มีด้วยกันทั้งสิ้น 6 พิมคือ พระรอดพิมพ์ใหญ่, พระรอดพิมพ์กลาง, พระรอดพิมพ์เล็ก, พระรอดพิมพ์ต้อ, พระรอดพิมพ์ตื้น และพระรอดพิมพ์บ่วงเงินบ่วงทอง ซึ่งพิมพ์สุดท้ายหาได้ยากที่สุด

พระอธิการทา อดีตเจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษี และพระอาจารย์บุญธรรม วัดพราตุหริภุญชัย ได้บันทึกไว้ว่า

ปี พ.ศ. 2435 ตรงกับสมัยของเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ในสมัยรัชกลาลที่ ๕ พระเจดีย์ของวัดมหาวันได้ชำรุดและพังลงบางส่วน ทางวัดจึงทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ ในการรื้อบางส่วนได้พบพระรอดจำนวนมาก เมื่อบูรณะเสร็จแล้วจึงบรรจุไว้ตามเดิม

ปี พ.ศ.2451 ฐานพระเจดีย์ชำรุด จึงทำการบูรณอีก ได้พบพระรอดจำยนวนมาก จึงนำออกแจกจ่ายแก่ข้าราชการและประชาชนจำนวนมาก และเรียกพระรอดชุดนี้ว่า พระรอดกรุเก่า (เจ้าหลวงได้นำเข้ากรุงเทพ ฯ ถวายแก่เจ้านายระดับสูงหลายพระองค์ เจ้านายวังหน้า มีกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล ได้นำไปฝังไว้ที่ด้านหลังพระเครื่องที่พระองค์และเหล่าเจ้านายทรงสร้าง มีพระสมเด็จโต และพระหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน เป็นต้น )

ปี พ.ศ.2498 ขุดพบพระรอดบริเวณหน้าวัด และใต้ถุนกุฏิ ประมาณ 300 กว่าองค์

ปี พ.ศ.2506 ทางวัดได้รื้อพื้นพระอุโบสถ พบพระรอดประมาณ 300 กว่าองค์ ต่อมาภายหลังก้มีการขุดพบเรื่อย ๆ แต่ไม่มากนัก รวมเรียกพระรอดกรุใหม่

ปี พ.ศ.2513-14 ทางวัดทำการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ จึงมีการประมูลให้ขุดค้นหาพระรอด เพื่อหาเงินมาสร้างพระอุโบสถ โดยมีกฎเกณฑ์การประมูลว่า ค่าประมูลขุด 4 ตารางเมตร ราคา 170,000 บาท ให้เวลา 4 ชั่วโมง ผู้ขุดจะได้หรือไม่ได้ ทางวัดก็ได้เงินจำนวนนั้น พ.ท.สมเกียรติ ซึ่งเป็นบุตรชายของบริษัทสยามฟาร์ม ซึ่งมีฐานะระดับเศรษฐีระดับต้น ๆ ของเมืองไทยสมัยนั้น ได้เข้าร่วมประมูลด้วย พ.ท.สมเกียริย์ได้ใช้สว่านเจาะลงไปตามแผ่นหินศิลาแลง บริเวณรอบฐานเจดีย์ แล้วงัดขึ้น ๆ จนขุดลงไประดับลึก พบพระรอดพิมพ์ต้อจำนวนหนึ่ง ได้มา 900 กว่าองค์ พระเหล่านี้ถูกน้ำอันมีส่วนผสมของแร่เหล็กซึมซับเกาะติด จนกลายเป็นแร่เหล็กสีดำเกาะแน่น เมื่อ พ.ท.สมเกียรติได้มารู้จักกับสันยาสี จึงนำพระรอดพิมพ์ต้อมามอบให้จำนวนหนึ่ง 70 องค์ พร้อมพระรอดพิมพ์อื่น ๆ อย่างละองค์สององค์ พระรอดพิมพ์ต้อนี้สร้างขึ้นเป็นรุ่นแรกในสมัยท่านฤาษีนารอด อันเป็นพระอาจารย์ของพระนางจามเทวี เมื่อสร้างเสร็จก็บรรจุไว้ในอุโมงค์ใต้เจดีย์วัดมหาวัน กาลเวลาผ่านไปมากกว่าพันปี อุโมงค์ก็ยุบลง พระรอดจำนวนมากก็ถูกอัดติดกันอยู่ใต้ดินบริเวณฐานและรอบพระเจดีย์ พระรอดเหล่านี้ก็เรียกพระรอดกรุใหม่ แท้จริงก็เป็นกรุเก่าทั้งนั้น

สีของพระรอดมีด้วยกัน 6 สีคือ สีเขียว สีพิกุล สีแดง สีเขียวคราบเหลือง สีเขียวคราบแดง สีเขียวหินครก และมีด้วยกันทั้งหมด 6 พิมพ์ด้วยกันคือ

    1. พระรอดพิมพ์ใหญ่ ซึ่งค้นพบในเจดีย์ สันยาสีสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยหลัง มีอายุน้อยกว่าพระรอดพิมพ์ต้อ

    2. พระรอดพิมพ์กลาง

    3. พระรอดพิมพ์เล็ก

    4. พระรอดพิมพ์ต้อ

    5. พระรอดพิมพ์ตื้น

    6. พระรอดพิมพ์หัวข่วง หรือบ่วงเงินบ่วงทอง ซึ่งหาได้ยากที่สุด

หนังสืออ้างอิง พระเครื่องยอดนิยมประจำจังหวัดลำพูน สำนักพิมพ์คเณศ์พร 2548

Advertising Zone    Close

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...